วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ลองชมดูครับผมกับเพื่อนเป็นคนทำขึ้นมา
เป็นการเอาเพลงมาทำภาพประกอบครับ
(จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้นครับ)

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

เทพแห่งเครื่องเป่าเมืองไทยกับ เพลง ทานตะวัน

เพลงนี้เนื้อหาดีมากครับ

เทพดนตรีเมืองมหาสารคามครับ


ร่วมด้วยฯ ช่วง ''ปราชญ์เดินดิน'' สัปดาห์นี้พบกับ ''ปราชญ์นักดนตรี เทพแห่งแคน''
      "ปราชญ์นักดนตรี เทพแห่งแคน" คุณสมบัติ สิมหล้า แขกรับเชิญช่วงปราชญ์เดินดิน มนุษย์เรามีพรสวรรค์ด้านความรู้ ความสามารถ และการแสดงที่แตกต่างกัน แต่สำหรับสมบัติ สิมหล้า นั้นมีทั้งพรสวรรค์และพรแสวงคู่กัน จนเกิดเป็นตำนานเดี่ยวแคนมือหนึ่งแดนอีสานชื่อดัง

      คุณสมบัติ สิมหล้า ลูกชาวนาอีสานเกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2506 บุตรของนายโป่ง นางบุดดี สิมหล้า ที่บ้านวังไฮ ตำบลวังใหม่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เขาเป็นผู้ที่อยู่ในโลกมืดมาตั้งแต่วัยเด็ก เนื่องจากหมอตำแยที่ทำคลอดเมื่อแรกเกิดหยอดยาผิดจนทำให้ตาติดเชื้อและบอดสนิท
แต่ในโลกแห่งความมืดยังมีแสงสว่างในหัวใจส่องสู่โลกแห่งความสนุกสนานและมนต์เสน่ห์ของดนตรีพื้นบ้านอีสาน เนื่องด้วยทั้งผู้เป็นพ่อเป็นหมอแคนและแม่เป็นหมอลำกลอนแห่งหมู่บ้านจึงได้ถ่ายทอดวิชา “เป่าแคน” ให้กับสมบัติ สิมหล้า เป็นเครื่องดนตรีคู่กายและฝึกฝนจนมีความชำนาญเป็นสะพานเชื่อมโยงสู่โลกปัจจุบัน

      เสียงแคนคือสื่อมนต์ขลังให้หลายคนคิดถึงบ้าน แต่สำหรับสมบัติ สิมหล้า คือสื่อที่ทำให้เขาได้ตระเวนไปทั่วอีสาน ต่างสถานที่ต่างเวลา ต่างท้องถิ่น และถูกพาไปไกลเรื่อย ๆ โดยขออาศัยนอนตามโรงพัก นอนตามท่ารถ เพื่อให้ได้มาซึ่งเศษสตางค์สำหรับผู้ที่ใจบุญต่อผู้ที่อยู่ในโลกมืดอย่างเขา จนเมื่ออายุได้ 11 ปี จึงมีโอกาสขึ้นเวทีเป่าแคนให้หมอลำบัวผัน ดาวคะนอง, หมอลำคำพัน ฝนแสนห่า, หมอลำวิรัติ ม้าย่อง โดยได้รับค่าตอบแทนคืนละ 500 บาท นับว่ามีค่ามหาศาลแตกต่างจากที่เขาต้องตระเวณเป่าแคนในต่างถิ่น

      เมื่อมีความชำนาญด้านการเป่าแคนลายต่าง ๆ สมบัติ สิมหล้า ได้มีโอกาสเข้าประกวดการเป่าแคนที่กองบินทหารอากาศมหาสารคามได้ลำดับที่ 1 และประกวดระดับภาคที่จังหวัดขอนแก่นได้รับรางวัลชนะเลิศ จึงเป็นเส้นทางให้เขาได้มีโอกาสร่วมบันทึกเสียงแคนให้กับหมอลำชื่อดังหลายคนที่ห้องอัดเสียงสยามจังหวัดขอนแก่น

      ชื่อเสียงของสมบัติ สิมหล้า เป็นที่รู้จักของผู้ชมทั่วประเทศและเป็นคนดังทั่วประเทศเมื่อได้รับเชิญจากทีมงานรายการทไวไลท์ไชว์ของไตรภพ ลิมปพัทธิ์ และการแสดงในครั้งนั้นเป็นสะพานเชื่อมโยงสู่การแสดงร่วมนักดนตรีระดับแนวหน้าของเมืองไทย เช่น สุรชัย จันทิมาธร, วง “ฟองน้ำ” ของครูบุญยงค์ เกตุคง และอาจารย์บรูส แกสตัน, วงไทยแลนด์ ฟีลฮาร์โมนิก ออร์เคสตาร์ หรือ TPO วงออร์เคสตรา ของคณาจารย์ และนักศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล อำนวยการวงโดย ดร.สุกรี เจริญสุข รวมทั้งการได้รับเชิญไปแสดงในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา

      ความภาคภูมิใจในชีวิตของสมบัติ สิมหล้า มือแคนจากแดนอีสานนั่นคือการได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษการเป่าแคนให้กับนักศึกษาที่สนใจศิลปะดนตรีพื้นบ้านอีสาน จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันการศึกษาในภาคอีสานหลายแห่ง

      กับวิถีชีวิตของสมบัติ สิมหล้าในวันนี้เขามีความสุขกับครอบครัวโดยได้พบรักกับหลานสาวของหมอลำผีฟ้าแห่งบ้านไชโย อำเภอบรบือ มีความสุขตามอัตภาพโดยมีลูกสาวอีกคนเป็นโซ่ทองคล้องใจ และเขาที่มุ่งมั่นให้เป็นหมอแคนหญิงในอนาคตให้ได้ โดยพักอยู่ที่ บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 8 บ้านวังไฮ ตำบลวังใหม่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม รับงานแสดงทั่วไปและเป็นอาจารย์พิเศษในสถานการศึกษาเป็นบางช่วง

      สำหรับแคนคู่ใจของสมบัติ สิมหล้า ได้มีความหมายและความสำคัญต่อวิถีชิวิตทั้งในอดีตและปัจจุบันว่า “แคนเป็นเครื่องดนตรีที่ดึงดูดคนอีสานไว้ด้วยกัน ผูกมัดหัวใจเขาไว้ด้วยกัน เครื่องดนตรีชนิดใดก็ขาดได้ แต่ถ้าขาดแคนไปเสียแล้วทำอะไรไม่ได้เลย หมอลำลำไม่ได้ถ้าไม่มีแคน ไปไหนก็แล้วแต่ คิดถึงบ้านก็ต้องเป่าแคน ฟังแคน” “มันสำคัญขนาดคนอีสานสมัยก่อน ถ้าไม่มีแคนนี่แทบหาเมียไม่ได้ เพราะเขาต้องสะพานแคนออกไปจีบสาว ออกพรรษาแล้วเวลาเขานวดข้าวหรือเข็นฝ้าย อากาศหนาว ๆ พวกหนุ่ม ๆ ก็สะพานแคนเดินไป พอเจอบ้านไหนก็หยุดเป่า เอาเม็ดมะขามมาคั่วกิน ผิงไฟไป คุยกับผู้สาวไป”

     หากไม่มีแคนในวันนี้วิถีชีวิตของสมบัติ สิมหล้า คงไม่ได้เปิดโลกทัศน์ดนตรีพื้นบ้านอีสานเป็นสะพานเชื่อมสู่โลกยุคเทคโนโลยีกับดนตรีสมัยใหม่ ดังคำกล่าวของเขาที่กล่าวไว้ว่า "อย่าไปน้อยใจ ท้อแท้ใจ คนเราถ้ายังไม่หมดลมหายใจ ก็อย่าไปท้อ ผมเกิดมายังไม่ทันได้เห็นอะไร ตาก็บอดเสียแล้ว แต่ผมก็ไม่เคยท้อ ยิ่งท้อยิ่งทำให้อายุสั้น"

แนะนำตัวครับ

นาย ชัยวัฒน์   ลาโนนงิ้ว เลขที่ 23 รหัส 533410030223
ดนตรีศึกษา หมู่ที่ 2

วันนี้ขอแนะนำประวัติมือพิณ ครูพิณคนสำคัญของจังหวัดอุบลครับ เป็นการคัดย่อมาครับจากเว็บออนซอน
ครู ทองใส ทับถนน เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2490 ที่บ้านหนองกินเพล ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายปิ่น และนางหนู ทับถนน โดยสืบเชื้อสายศิลปินจากนายปิ่นผู้เป็นพ่อซึ่งมีความสามารถด้านหมอลำพื้นบ้าน และการแสดงหนังบักตื้อ (หนังปราโมทัย)
ครูทองใส ทับถนนเริ่มฝึกดีดพิณเมื่ออายุ 4 ปี โดย มีครูบุญ บ้านท่างอย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ฝึกสอนการดีดพิณเป็นคนแรก จนอายุได้ 8 ปี จึงได้เล่นพิณประกอบคณะหมอลำของนายปิ่น ทับถนน ผู้เป็นพ่อ จากนั้นจึงได้เรียนรู้ลายพิณโบราณกับครูบุญชู โนนแก้ว แห่งบ้านโนนสังข์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ศิลปินมือพิณพื้นบ้านตาพิการ เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงได้ตระเวนเล่นดนตรีกับคณะหมอลำปิ่น ทับถนนเรื่อยมา

ครั้น ย่างสู่วัยหนุ่มเมื่ออายุได้ 21 ปี ครูทองใส ทับถนน ได้เข้าประจำการเป็นทหารเกณฑ์ที่กองพันทหารปืนใหญ่ ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้มีโอกาสเป็นนักดนตรีวงดนตรีสากลประจำกองพันทหารปืนใหญ่ ได้นำพิณมาประยุกต์กับดนตรีสากลสมัยใหม่ และเรียนรู้การเล่นดนตรีตามแบบสากลนับแต่นั้นเป็นต้นมา

หลังพ้นเกณฑ์ทหารในปี 2513 ครูทองใส ทับถนนจึงกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิดและได้สมัครเข้าเป็นนักดนตรีคณะ “ลูกทุ่งอีสาน” ของครูนพดล ดวงพร ภายใต้ฉายา “ทองใส หัวนาค” ทั้งนี้เพราะมีพิณแกะสลักเป็นรูปพญานาคเป็นเครื่องดนตรีคู่กาย ต่อมาในปี 2514 ครูนพดล ดวงพร ได้รับเชิญให้นำวงดนตรีลูกทุ่งอีสานประยุกต์ไปแสดงถวายหน้าพระที่ประทับที่ เขื่อนน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรแก่นัก ศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
ครูนพดล ดวงพร ร่วมกับครูทองใส ทับถนน ได้ถวายพิณแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตรัสว่า “เพชรนี้เป็นเพชรน้ำเอก” ของเครื่องดนตรีอีสาน ยังความปลื้มปิติแก่นพดล ดวงพร และชาวคณะเป็นอย่างมาก จึงได้เปลี่ยนชื่อวงดนตรี “ลูกทุ่งอีสาน” พิณประยุกต์ มาเป็นวง “เพชรพิณทอง” ซึ่งถือว่าเป็นนามมงคลอันเกิดจากการถวายพิณในครั้งนั้น

ต่อมาครูทองใส ทับถนนได้นำเอาคอนแทรกไฟฟ้ามาประกอบกับพิณ และถือว่าเป็นพิณไฟฟ้าตัวแรกของเมืองไทย และได้เล่นดนตรีกับวงดนตรี “เพชรพิณทอง” ตลอดมาตั้งแต่ปี 2514 จนได้ยุติวง แต่มนต์ขลังเสียงพิณของครูทองใส ทับถนน ยังดังก้องอยู่ในหัวใจของแฟนเพลงตลอดมา
ใน การทำงานนั้นครูทองใส ทับถนน ได้ยึดมั่นในคุณธรรม 4 ประการ ในการทำงานคือ ความเพียร ความอดทน มีน้ำใจ และมีความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดทั้งมีหลักหารในการทำงานให้มีความสุขสนุกสนานกับเพื่อนร่วมงาน ผสมผสานชีวิตทำงานกับครอบครัว พัฒนางานฝีมืออยู่เสมอ และถ่ายทอดความรู้โดยไม่ปิดบัง 
ผล จากการสั่งสมประสมการณ์ในการเล่นพิณและให้ความช่วยเหลือสังคม ชุมชน ตลอดมาจึงทำให้ผลงานของครูทองใส ทับถนนเป็นที่ประจักษ์เรื่อยมาจนได้รับการประกาศเกียรติคุณดังนี้

ปี 2543 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศิลปินดีเด่นสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีอีสาน) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ 
ปี 2544 ได้รับประกาศเกียรติคุณผู้ให้การสนับสนุนกิจกรรมวัฒนธรรมดีเด่น จากสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 10 
ปี 2545 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2 ปี 2545 
ปี 2548 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ดนตรีศึกษา) จากมหาวิทยาลัยราช

ภาษาอิสานวันละคำ


ภาษาอิสานวันละคำ
าษาพูดของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกัน ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใด เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มีชายแดนติด กับเขมร สำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ทางด้านจังหวัด สกลนคร นครพนม หนองคาย เลย ก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือ ลักษณะของคำและความหมายต่างๆ ที่ยัง คงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาค
หลังจากได้นำเสนอคำ และความหมายในภาษาอีสานกันมาเป็นเวลานานพอสมควร ก็มีแฟนๆ ส่วนหนึ่งสนใจอยากจะเรียนรู้มากยิ่งขึ้น เพราะในปัจจุบันคนอีสานได้กระจัดกระจายไปอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ ตลอดทั้งความเจริญอย่างรวดเร็วของการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะสื่อจากวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน มีการนำเสนอละครที่สะท้อนชีวิตคนอีสานอย่างเรื่อง "นายฮ้อยทมิฬ" ของลุงคำพูน บุญทวี การที่ศิลปินชาวอีสานนำเสนอบทเพลงโด่งดังไปทั่ว ทำให้มีหลายๆ ท่านอยากจะรู้ว่า คำที่ปรากฏในเนื้อเพลงเหล่านั้นมีความหมายอย่างไร วันนี้ก็เลยขอนำเสนอบทเรียนภาษาอีสานจากเพลงขึ้นอีกส่วนหนึ่ง
เริ่มแล้วครับวันนี้ สำหรับการสืบค้นหาคำ และความหมายของภาษาอีสานเป็น ภาษาไทยกลาง และอังกฤษ ได้จากเว็บนี้ ขณะนี้ให้บริการแล้วทุกหมวดอักษร (เฉพาะคำที่เป็นคำอีสานแท้ๆ ที่เหลือจะเพิ่มเติมให้ครบในภายหลัง) ตอนจัดทำถึง ด. เด็ก นี่แหละที่ทำให้ผมรู้ว่าตัวเองยังไม่รู้จักความหมายของภาษาอีสานเป็นจำนวนมาก เพราะคำบางคำมีความหมายต่างกันมากกว่า 20 ความหมาย ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลอย่างรีบเร่งอยู่ครับ เนื่องจากมีคำเป็นจำนวนมาก คงต้องขอเวลาอีกสักนิดครับ (ให้คนอื่นช่วยทำแล้วยุ่งกว่าเดิมครับ เพราะความไม่เข้าใจในภาษาอีสาน คิดว่าพิมพ์ตกหล่นก็เลยแก้ไขให้เสียเลย ทำให้เสียเวลามากกว่าเดิม ตอนนี้ต้องลุยเองครับ) ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ด้วยการเลือกคำศัพท์ที่เป็นภาษาอีสานแท้ๆ มานำเสนอก่อน ที่เหลือจะเพิ่มเติมลงให้ครบในภายหลังต่อไป
เสี่ยว หมายถึง สหาย, มิตร, เพื่อน, เกลอ (friend, buddy, comrade.) คนที่มีรูปร่างหรือ นิสัยใจคอเหมือนกันหรือเกิดไล่เลี่ยกัน พ่อแม่ผูกให้เป็นมิตรกัน เรียกว่า "ผูกเสี่ยว" ซึ่งเขาทั้งสองจะผูกสมัครรักใคร่ คอยช่วยเหลือเกื้อกูลจนวันตาย หรือจะเรียกว่า "เป็นเพื่อนตาย" ก็ยังได้
    ประเพณีผูกเสี่ยวเป็นงานที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกปีที่จังหวัดขอนแก่น
    คำว่า "บักเสี่ยว" ที่คนในภาคอื่นนำมาใช้เรียกคนอีสานอย่างดูแคลนจึงไม่ถูกต้อง เพราะ คำว่า "บัก" เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อชายที่มีอายุเสมอกัน หรือต่ำกว่ากันว่า บักสี บักสา บักมี บักมา (นายสี, นายสา, นายมี, นายมา) ถือเป็นคำพูดพื้นๆ ไม่หยาบคายแต่อย่างใด คำว่า "บักสี่ยว" จึงหมายถึงการเรียกว่า ไอ้เพื่อนเกลอ เท่านั้นเอง
    ไท มีความหมายเป็น 2 นัย คืออย่างแรกแปลว่า "ชาว" หรือ "ผู้ที่อยู่" คนในถิ่นที่เอ่ยนามหลังคำว่าไท เช่น ไทอุบลฯ ก็หมายถึง ชาวอุบลฯ ไทบ้าน หมายถึง ชาวบ้าน ไทบ้านได๋ หมายถึง คนบ้านไหน ไทแขก หมายถึง ผู้ที่มาเยือน ซึ่งมักจะไม่ใช่ญาติพี่น้อง และมักจะเป็นบุคคลที่มาจากต่างถิ่น ไม่ได้หมายถึงคนที่เป็นลูกครึ่งไทยผสมอินเดีย หรืออาหรับแต่อย่างใดอย่างที่สองหมายถึง ชนชาติไท เป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน จีนตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า (รัฐฉาน) รัฐอัสสัมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (ไทอาหม) เอกลักษณ์ของชนเผ่านี้คือ ผู้หญิงตั้งแต่วัยเริ่มเข้าเรียนจะนุ่งผ้าซิ่นแบบป้าย ผ้าซิ่นนี้จะเอาผ้าเป็นผืนมาเพลาะให้เป็นถุงที่ไม่มีก้นถุงก่อน แล้วจึงนุ่งป้ายทบไปเหน็บที่เอวข้างใดข้างหนึ่งของผู้นุ่ง (ไม่ได้นุ่งแบบจีบหน้านางของนางรำละจ่างป่าง (ว.) สว่าง, โล่ง ท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก มองไปทางไหนก็แจ้งสว่าง เรียก แจ้งจ่างป่าง bright, clear (of clouds)แจ่งแป่ง เป็นสร้อยคำ ใช้คู่กับจ่างป่าง เช่น แจ่งแป่งจ่างป่างจิ่งปิ่ง (ว.) รูขนาดเล็กเรียก ฮูจิ่งปิ่ง ถ้ารูขนาดใหญ่เรียก ฮูจึ่งปึ่ง small (hole)โจ่งโป่ง (ว.) ลักษณะของรูที่ใหญ่ มองเห็นทะลุตลอด เรียก ฮูโจ่งโป่ง gaping and penetrating (of hole)

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

อาจารย์ สมาน หงษา


อาจารย์ สมาน หงษา
ในบรรดาศิลปินหมอลำรุ่นเก่ามิตรหมอแคนแฟนหมอลำคงคุ้นเคยกับ ชื่อ สมาน หงษา ที่จัดอยู่ในลำดับต้นๆ ในทำเนียบหมอลำอีสาน แม้แต่ ป.ฉลาดน้อย ศิลปินแห่งชาติ ปีล่าสุดก็ยกย่องให้เป็นอาจารย์
วันนี้ของหมอลำเรืองนาม สมาน หงษา เข้าสู่ปีที่ 64 ที่ผ่านมาแสดงในบ้านเราและต่างแดนร่วม 20 ประเทศ ทั้งอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ ญี่ปุ่น ลาว ฯลฯ ได้หันหลังให้วงการหมอลำแล้ว โดยใช้ชีวิตอย่างพอเพียงในกระท่อมน้อย ตรงข้ามสำนักงานริมถนนใหญ่ ใน จ.อุบลราชธานี
สมาน ย้อนถึงวัยหนุ่มที่เป็นยุคเฟื่องของหมอลำกลอน ที่ถือเป็นแม่แบบของหมอลำปัจจุบัน "จบเปรียญสามประโยค แล้วมาเรียนหมอลำกับพี่ชาย ตั้งแต่ปี 2508 ครูที่สอน คือ อ.ทองคำ เพ็งดี ส่วน อ.เคน ดาเหลา นั้น พ่อผมไปเรียนวิชากับเขา เริ่มเล่นหมอลำตั้งแต่อายุ 19 ปี มีแคนดวงเดียวเล่นกันยันสว่าง สมัยนั้นมีงานกันเป็นเดือน เล่นกันทั้งกลางวัน กลางคืน จนตัวเหลืองหมด รุ่นเดียวกันมี เสาร์ พงษ์ภาค (พ่อของนพดล ดวงพร) เป็นเพื่อนกัน และก็ ฉวีวรรณ ดำเนิน ส่วนใหญ่จะตายหมดแล้ว ยุคนั้นเล่นกันคืนละ 300 บาท คู่กับ จันทร์แดง โสภา การเดินทางนั้น รถจะมีเป็นช่วงๆ ที่ไหนไม่มีรถต้องเดินกันไป เวทีแสดงไม่ใหญ่ เจ้าภาพจะจัดให้ ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ โลกเจริญแต่เราก็จะดับ"
หมอลำซิ่งหมอลำซิ่ง
ครูสมานกล่าวอย่างคนปลงตก หลังจากเลิกลำมาได้ 3 ปี เพราะเส้นเลือดตีบ ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ ยืนไม่ได้ "เรื่องความรู้ก็ต่าง แต่ก่อนเล่นกันสดๆ มีกลอนถามไถ่กัน ด่ากันก็ใช้กลอน ต้องเรียนสูงเพื่อต่อสู้ (ในทางวิชา) กัน ถ้าอยากลำเก่งต้องเรียนสูงๆ บาลีก็ต้องเรียน สมัยก่อนมีกลอน เช่น เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ลาว นครเวียงจันทน์ เขาจะตั้งเป็นถาม-ตอบกัน หมอลำยุคนี้ไม่ได้กินหรอก ตอนนี้กลอนเก่าๆ ก็ถ่ายทอดให้ลูกชาย แต่บางอันก็ล้าสมัยไปบ้าง บางกลอนมีค่ากว่ากลอนสมัยใหม่ ปราชญ์สมัยใหม่แต่งไม่ได้อย่างสมัยเก่า พื้นฐานมันต่างกัน ถ้าคนเรียนสูงจะด้นได้สดเลย หมอลำยุคนี้แปรสภาพไปมาก เหมือนต้นไม้ที่ขยายสาขาออกไป แต่ไม่แข็งแรงเหมือนก่อน ทุกวันก็ยังติดตามอยู่ ฟังทางวิทยุ เมื่อคืนเขาเปิดลำกลอนสุนราภิรมย์ ฟังแล้วน้ำตาคลอนึกถึงอดีต" หมอลำฝีปากเฉียบเปรียบเทียบวงการหมอลำสมัยก่อนกับวันนี้
ครูสมาน ได้บันทึกลำกลอนไว้หลายชุด โดยล่าสุดอยู่กับค่ายท็อปไลน์ 3 ชุด ก่อนหน้านั้นสังกัดค่ายกรุงไทย ออดิโอ ที่มีผลงานประมาณ 6 ชุด และที่ค่ายราชบุตร ใน จ.อุบลราชธานี อีกเกือบ 20 ชุด โดยมีลำกลอนที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ "เต้ยหัวหงอกหยอกสาว" ที่ ไวพจน์ เพชรสุรรณ นำมาร้องใหม่ เมื่อไม่นานมานี้ ในช่วงที่โด่งดัง ป.ฉลาดน้อย ก็เคยสะพายกระเป๋า ขึ้นเกวียนไปงานด้วยกัน

ประวัติอาจารย์สมบัติ

นายสมบัติ สิมหล้า เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2506 เป็นบุตรของคุณพ่อโป่ง คุณแม่บุดดี สิมหล้า ซึ่งคุณพ่อเป็นหมอแคน คุณแม่เป็นหมอลำกลอน ปัจจุบันพำนักที่ บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 8 บ้านวังไฮ ต.วังใหม่ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม โทร.(043) 727184
เมื่อแรกเกิดดวงตาของ สมบัติ สิมหล้า แฉะ หมอตำแยจะทำการหยอดตาให้แต่ใช้ยาผิดโดยเอายาที่ใช้เช็ดสะดือมาหยอดตา จากการที่ใช้ยาผิดจึงเป็นสาเหตุทำให้ดวงตาของสมบัติ สิมหล้า เริ่มมืดและมองไม่เห็นในที่สุด
ประวัติการศึกษา ศึกษาอักษรเบลล์ จากโรงเรียนคนพิการปากเกร็ดนนทบุรี เป็นเวลา 3 เดือน ได้เริ่มฝึกหัดเป่าแคนตั้งแต่อายุได้ 6 ขวบ พ่อชื้อแคนมาให้เป่า หวังจะให้มีลูกมีอาชีพเป็นหมอแคนในอนาคต ทั้งที่ตอนแรกสมบัติยังไม่รักที่จะเป่าแคนเลย
เมื่อได้รับการฝึกฝนทักษะจากผู้เป็นบิดาที่มีอาชีพเป็นหมอแคน ก็สามารถเป่าแคนให้กับหมอลำกลอนเมื่ออายุได้ 14 ปี โดยเป่าแคนให้หมอลำบัวผัน ดาวคะนอง, หมอลำคำพัน ฝนแสนห่า, หมอลำวิรัติ ม้าย่อง โดยได้รับค่าตอบแทนในตอนนั้นเป็นจำนวนเงิน 500 บาท และได้ยึดอาชีพหมอแคนมาจนถึงปัจจุบัน
ผลงาน
  • ร่วมบรรเลงในวงแกนอีสาน ของวิทยาลัยครูมหาสารคาม เพื่อทำการบันทึกเสียง
  • เป็นวิทยากรให้กับสถานศึกษาต่างๆ เช่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร.ร.บรบือวิทยาคาร
เป่าแคนให้บานเย็น รากแก่นลำ
ประชันกับอาจารย์ทินกร วงโปงลางอุบลฯ
  • ร่วมแสดงกับวงดนตรี เช่น วงฟองน้ำ, หงา คาราวาน, สนธิ สมมาตร , สายันต์ สัญญา ฯลฯ
  • ได้รับเชิญจากรายการ ทไวไลท์โชว์ ในช่วง ทอล์คโชว์
  • ร่วมบรรเลงแคนประยุกต์กับดนตรีรูปแบบต่างๆ ในรายการ คุณพระช่วย
  • บันทึกเทป เดี่ยวแคน บริษัทชัวร์ ออดิโอ
  • สอนเป่าแคนให้แก่ ประชาชน และผู้สนใจทั่วไป ในเวลาว่าง
สถานภาพครอบครัว
สมรสแล้วกับ นางนิว สิมหล้า (นิว ทึนหาญ) และมีบุตรสาว 1 คน ชื่อ เด็กหญิง สุพัตรา สิมหล้า ปัจจุบันอายุ 4 ขวบ
เชิญรับฟังการเป่าแคนระดับเทพของ สมบัติ สิมหล้า
ลายแคนนี้ชื่อว่า "ลายไล่งัวขึ้นภู" หรือ "ต้อนงัวขึ้นภู"

อาจารย์ สมบัติ สิมหล้า หมอแคนระดับเทพเจ้า ท่านคือเทพแห่งแคนจริงๆ และที่สำคัญคือ ท่าน...ไ ม่ มี ต า ....ครับ ตาท่านบอดทั้งสองข้าง ความที่เก่งกล้าสามารถในเรื่องแคน ถึงขนาดที่ อาจารย์บรูซ แกสตัน ต้องขอทำความรู้จัก
แต่ก่อนไม่มีใครรู้จัก สมบัติ สิมหล้า อยู่ๆ เมื่อ ประมาณปี พ.ศ. 2518--2520 (ไม่แน่ใจ) มีเพลงลูกทุ่งเพลงหนึ่งโด่งดังทะลุฟ้าเมืองไทย และสร้างความตื่นตะลึงในหมู่คนฟังมากจากการขับร้องของ ศรชัย เมฆวิเชียร ในเพลง "เสียงซอสั่งสาว"ตั้งแต่นั้นมา ชื่อ สมบัติ สิมหล้า ก็ดังยิ่งกว่า ศรชัย เมฆวิเชียร เสียอีกครับท่านผู้ชม หลังจากนั้น อาจารย์บรูซ ก็ไปตามหาตัว ดึงมาเล่นวงฟองน้ำด้วยกัน ที่นี้ยิ่งไปกันใหญ่เลย มารับรู้กันกว้างขวางยิ่งขึ้นว่า สมบัติ เล่นดนตรีอิสานได้เก่งเฉียบขาดแทบทุกชิ้นรวมทั้งการเป็นเซียนแคนที่สามารถอีกด้วย
อาจารย์หำครับ มือแซกโซโฟนหมอลำเก่งมาก

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

อาจารย์หำมือแซกโซโฟนสำเนียงอิสาน

อาจารย์หำมือแซกโซโฟนสำเนียงอิสาน
แซกโซโฟน...เครื่องดนตรีสากลที่มีเสน่ห์ หรูหรา น่าหลงใหล ส่วนเพลงอีสาน...ดนตรีพื้นบ้านที่สนุกสนาน และมีเอกลักษณ์ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ไม่น่าจะเข้ากันได้ แต่ชายคนนี้ สำราญ บุบผาวาสน์ หรืออาจารย์หำ แห่งบ้านสร้างมิ่ง อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี นำมาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว สำหรับ สำราญ  บุบผาวาสน์  มีอาชีพทำนาและเล่นดนตรีมาตั้งแต่ ปี 2504 จนถึงปัจจุบัน เด็กชายตัวน้อยๆ แห่งอำเภอม่วงสามสิบ เกิดและเติบโตมากับครอบครัวหมอลำ หลังจบการศึกษาชั้น ป.4 จึงมาเป็นนักแสดงหมอลำอย่างเต็มตัว แต่ด้วยใจรักในเสียงดนตรี จึงมีโอกาสได้ฝึกเล่นดนตรีมาหลายประเภท จนมาถึงแซกโซโฟน 
จากไม่รู้จักตัวโน๊ตสักตัว พัฒนามาสู่ลีลาท่วงทำนองของตนเอง แต่ด้วยสายเลือด พิณ แคน ที่มีเต็มเปี่ยมอยู่แล้วในจิตวิญญาณศิลปิน เมื่อได้จับแซกโซโฟนขึ้นมา ประสานกับอารมณ์และสำเนียงของหมอลำ สำราญ หรือ อาจารย์หำ ได้สร้างลีลา“ลายแซก” คนแรกของโลกขึ้น ซึ่งเป็นท่วงทำนองสไตล์แจ๊สจากเครื่องดนตรีสากล แต่เป็นจิตวิญญาณและสำเนียงของหมอลำอีสาน ได้อย่างลงตัวที่สุด เป็นการถือกำเนิด “ลายแซกสำเนียงอีสาน”
ซึ่งปัจจุบัน สำราญ  บุบผาวาสน์  ได้รับรางวัล “ศิลปินมรดกอีสาน ประจำปีพุทธศักราช 2552  สาขาศิลปะการแสดง ประเภทดนตรีร่วมสมัย (แซกโซโฟน) และยังคงทำอาชีพทำนาควบคู่กับการเล่นดนตรีต่อไป ด้วยมุ่งหวังว่า...ต้องการให้ลูกให้หลานสืบทอดสำเนียงเสียงแซกอีสาน ให้มันยั่งอยู่คู่กับเมืองไทยกับภาคอีสาน กับเอกลักษณ์ของพื้นภาคอีสาน...“ ผมอยากบอกให้ลูกให้หลานที่จะเป็นนักดนตรี หรือจะมาฝึกมาหัดว่า ไม่มีสิ่งไหนที่เราจะทำไม่ได้ เราต้องทำได้” มารู้จักผู้ชายคนนี้ พร้อมร่วมสืบทอดเอกลักษณ์ “ลายแซกสำเนียงอีสาน” ได้ ในรายการปราชญ์เดินดิน ตอน สำราญ บุบผาวาสน์ : ต้นตำรับลายแซก สำเนียงอีสาน วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคมนี้ เวลา 12.30 น. ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี