วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาษาอิสานวันละคำ


ภาษาอิสานวันละคำ
าษาพูดของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกัน ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใด เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มีชายแดนติด กับเขมร สำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ทางด้านจังหวัด สกลนคร นครพนม หนองคาย เลย ก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือ ลักษณะของคำและความหมายต่างๆ ที่ยัง คงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาค
หลังจากได้นำเสนอคำ และความหมายในภาษาอีสานกันมาเป็นเวลานานพอสมควร ก็มีแฟนๆ ส่วนหนึ่งสนใจอยากจะเรียนรู้มากยิ่งขึ้น เพราะในปัจจุบันคนอีสานได้กระจัดกระจายไปอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ ตลอดทั้งความเจริญอย่างรวดเร็วของการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะสื่อจากวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน มีการนำเสนอละครที่สะท้อนชีวิตคนอีสานอย่างเรื่อง "นายฮ้อยทมิฬ" ของลุงคำพูน บุญทวี การที่ศิลปินชาวอีสานนำเสนอบทเพลงโด่งดังไปทั่ว ทำให้มีหลายๆ ท่านอยากจะรู้ว่า คำที่ปรากฏในเนื้อเพลงเหล่านั้นมีความหมายอย่างไร วันนี้ก็เลยขอนำเสนอบทเรียนภาษาอีสานจากเพลงขึ้นอีกส่วนหนึ่ง
เริ่มแล้วครับวันนี้ สำหรับการสืบค้นหาคำ และความหมายของภาษาอีสานเป็น ภาษาไทยกลาง และอังกฤษ ได้จากเว็บนี้ ขณะนี้ให้บริการแล้วทุกหมวดอักษร (เฉพาะคำที่เป็นคำอีสานแท้ๆ ที่เหลือจะเพิ่มเติมให้ครบในภายหลัง) ตอนจัดทำถึง ด. เด็ก นี่แหละที่ทำให้ผมรู้ว่าตัวเองยังไม่รู้จักความหมายของภาษาอีสานเป็นจำนวนมาก เพราะคำบางคำมีความหมายต่างกันมากกว่า 20 ความหมาย ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลอย่างรีบเร่งอยู่ครับ เนื่องจากมีคำเป็นจำนวนมาก คงต้องขอเวลาอีกสักนิดครับ (ให้คนอื่นช่วยทำแล้วยุ่งกว่าเดิมครับ เพราะความไม่เข้าใจในภาษาอีสาน คิดว่าพิมพ์ตกหล่นก็เลยแก้ไขให้เสียเลย ทำให้เสียเวลามากกว่าเดิม ตอนนี้ต้องลุยเองครับ) ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ด้วยการเลือกคำศัพท์ที่เป็นภาษาอีสานแท้ๆ มานำเสนอก่อน ที่เหลือจะเพิ่มเติมลงให้ครบในภายหลังต่อไป
เสี่ยว หมายถึง สหาย, มิตร, เพื่อน, เกลอ (friend, buddy, comrade.) คนที่มีรูปร่างหรือ นิสัยใจคอเหมือนกันหรือเกิดไล่เลี่ยกัน พ่อแม่ผูกให้เป็นมิตรกัน เรียกว่า "ผูกเสี่ยว" ซึ่งเขาทั้งสองจะผูกสมัครรักใคร่ คอยช่วยเหลือเกื้อกูลจนวันตาย หรือจะเรียกว่า "เป็นเพื่อนตาย" ก็ยังได้
    ประเพณีผูกเสี่ยวเป็นงานที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกปีที่จังหวัดขอนแก่น
    คำว่า "บักเสี่ยว" ที่คนในภาคอื่นนำมาใช้เรียกคนอีสานอย่างดูแคลนจึงไม่ถูกต้อง เพราะ คำว่า "บัก" เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อชายที่มีอายุเสมอกัน หรือต่ำกว่ากันว่า บักสี บักสา บักมี บักมา (นายสี, นายสา, นายมี, นายมา) ถือเป็นคำพูดพื้นๆ ไม่หยาบคายแต่อย่างใด คำว่า "บักสี่ยว" จึงหมายถึงการเรียกว่า ไอ้เพื่อนเกลอ เท่านั้นเอง
    ไท มีความหมายเป็น 2 นัย คืออย่างแรกแปลว่า "ชาว" หรือ "ผู้ที่อยู่" คนในถิ่นที่เอ่ยนามหลังคำว่าไท เช่น ไทอุบลฯ ก็หมายถึง ชาวอุบลฯ ไทบ้าน หมายถึง ชาวบ้าน ไทบ้านได๋ หมายถึง คนบ้านไหน ไทแขก หมายถึง ผู้ที่มาเยือน ซึ่งมักจะไม่ใช่ญาติพี่น้อง และมักจะเป็นบุคคลที่มาจากต่างถิ่น ไม่ได้หมายถึงคนที่เป็นลูกครึ่งไทยผสมอินเดีย หรืออาหรับแต่อย่างใดอย่างที่สองหมายถึง ชนชาติไท เป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน จีนตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า (รัฐฉาน) รัฐอัสสัมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (ไทอาหม) เอกลักษณ์ของชนเผ่านี้คือ ผู้หญิงตั้งแต่วัยเริ่มเข้าเรียนจะนุ่งผ้าซิ่นแบบป้าย ผ้าซิ่นนี้จะเอาผ้าเป็นผืนมาเพลาะให้เป็นถุงที่ไม่มีก้นถุงก่อน แล้วจึงนุ่งป้ายทบไปเหน็บที่เอวข้างใดข้างหนึ่งของผู้นุ่ง (ไม่ได้นุ่งแบบจีบหน้านางของนางรำละจ่างป่าง (ว.) สว่าง, โล่ง ท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก มองไปทางไหนก็แจ้งสว่าง เรียก แจ้งจ่างป่าง bright, clear (of clouds)แจ่งแป่ง เป็นสร้อยคำ ใช้คู่กับจ่างป่าง เช่น แจ่งแป่งจ่างป่างจิ่งปิ่ง (ว.) รูขนาดเล็กเรียก ฮูจิ่งปิ่ง ถ้ารูขนาดใหญ่เรียก ฮูจึ่งปึ่ง small (hole)โจ่งโป่ง (ว.) ลักษณะของรูที่ใหญ่ มองเห็นทะลุตลอด เรียก ฮูโจ่งโป่ง gaping and penetrating (of hole)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น